Last updated: 24 พ.ค. 2565 | 30830 จำนวนผู้เข้าชม |
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
คล้ายสิว…แต่ไม่ใช่สิว…
…ผื่นผิวหนังอักเสบรอบปาก (Perioral dermatitis, POD)
โรคผื่นผิวหนังอักเสบรอบปาก (Perioral dermatitis, POD) หรือที่เรียกว่า “เพอริออรัล เดอร์มาไทติส” (perioral dermatitis) หรือ “พีโอดี” (POD) แม้ว่าโรคนี้จะไม่ร้ายแรงถึงชีวิต แต่ก็มักเป็นเรื้อรังและส่งผลเสียต่อจิตใจและอารมณ์ได้
•มีลักษณะเป็นผื่นแดง ตุ่มแดง ตุ่มน้ำหรือ ตุ่มหนอง* พบบ่อยรอบริมฝีปาก ทำให้คิดว่าเป็นสิวได้*
•แยกจากสิวโดยสิวจะมีการอุดตัน comedone ส่วน POD จะไม่มีครับ*
•สาเหตุหลักเกิดจากการใช้ยาสเตียรอยด์ครับ
โรคผื่นผิวหนังอักเสบรอบปาก หรือ “พีโอดี” พบบ่อยในเพศหญิงอายุ 20-45 ปี โดยพบราว 90% ของผู้ป่วยโรคนี้
•มีแนวโน้มจะพบในเพศชายมากขึ้นเพราะผู้ชายใช้เครื่องสำอางกันมากขึ้น ผู้ป่วยมักมีอาการแสบร้อนและตึง ๆ ผิว พบอาการคันได้น้อย
•และพบบ่อยว่ามีการทายาสเตียรอยด์มาก่อน บางคนมีประวัติใช้เครื่องสำอาง หรือยาสีฟันผสมฟลูออไรด์*
“POD พีโอดี” มักเป็นเรื้อรัง ผู้ป่วยอาจเกิดความอายเพราะผื่นที่ใบหน้าแลดูไม่น่าดู ลักษณะเป็นผื่นผิวหนังอักเสบรอบปาก มีตุ่มแดง และตุ่มหนองร่วมด้วย
•แยกจากสิว Acne โดยสิวจะมีการอุดตัน comedone และอาจเป็นบริเวณอื่นจองใบหน้าเช่นกรอบหน้า แก้ม หน้าผากครับ***
•มีโรคผิวหนังอีกชนิดที่อาจดูคล้าย “พีโอดี” คือ โรคผิวหนังอักเสบจากการชอบเลียริมฝีปาก เกิดจากการระคายเคืองจากการเปียกชื้นน้ำลาย มีลักษณะเป็นผื่นแดง ลอกเป็นขุย หรือมีสะเก็ดรอบริมฝีปาก โดยเป็นเฉพาะบริเวณผิวหนังที่สามารถถูกลิ้นสัมผัสได้ บางรายผื่นมีสีแดงจัดเหมือนทาลิปสติกจนเปื้อนรอบปากคล้ายตัวตลกชื่อโบโซ่ โรคนี้อาจเรียกว่า “เพอริออรัล เอ็กซิม่า” (perioral eczema) หรือ “พีโออี” (POE) ซึ่งต้องแยกจากโรค POD
•POE มีลักษณะเป็นผิวหนังอักเสบแดงลอกที่ส่วนใหญ่พบในเด็ก พบบ่อยในผู้ที่มีประวัติภูมิแพ้ ผู้ที่ชอบเลียปากและดูดนิ้วหัวแม่มือ และในผู้ที่รับประทานยารักษาสิวกลุ่มกรดวิตามินเอ
•แต่ PODจะมีลักษณะเป็นตุ่มแดงตุ่มหนองคล้ายสิวมักพบในสตรีวัยผู้ใหญ่ตอนต้น*
การดูแลผื่นผิวหนังอักเสบรอบปาก POD
•จะคล้ายกับการรักษาสิว โดยอาจต้องใช้เวลาเป็นเดือน
•ต้องหยุดสาเหตุที่มาสัมผัสหรือกระตุ้น เช่น
* ครีมที่มีสเตียรอยด์ corticosteroid โดยเฉพาะสเตียรอยด์ความแรงสูง***
* เครื่องสำอาง
* ฟลูออไรด์ในยาสีฟัน*
* แพ้อาหารที่กิน หรือสิ่งที่สัมผัส
* ความเครียด
* ความผันผวนของฮอร์โมน (ทั้งจากการคุมกำเนิดและรอบเดือน)
* เครื่องสำอาง (ส่วนผสมที่ทำให้ระคายเคืองในการแต่งหน้า และผลิตภัณฑ์ดูแลผิว เช่นน้ำหอม สารกันบูด สบู่ เป็นต้น)
* ซัลเฟต / ซัลเฟตในแชมพู (SLS, SLES, ALS เป็นต้น)*
* ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม: ลมแรงแสงแดด ฯลฯ
* งดเคี้ยวหมากฝรั่ง
*
*****การดูแลผิวช่วงที่มีผิวหนังอักเสบ
* ทำความสะอาดบริเวณที่เป็นผื่นด้วยน้ำเย็นโดยใช้การตบเบา ๆ แทนที่จะขัดถูบริเวณนั้น
* ตบผิวรอบปากเบา ๆ เมื่อล้างหน้า
* ใช้ครีมกันแดดที่ใบหน้าและริมฝีปาก
* หลีกเลี่ยงการเลียริมฝีปากตลอดเวลา
* ใช้ยาสีฟันที่ไม่มีฟลูออไรด์* (สามารถ search ใน google ได้มีหลายยี่ห้อครับ
* รับประทานคำเล็กลง เพื่อป้องกันไม่ให้ปากและผิวหนังยืดตึงมากเกินไป
* หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีอุณหภูมิสูง มีฤทธิ์ร้อน
* หลีกเลี่ยงอาหารรสจัดเค็มจัดและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
* ให้ความชุ่มชื้นกับผิว จิบน้ำบ่อยๆ
* ไม่ลอกดึงผิวที่แห้งเป็นขุย
* อย่าใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ หรือสารเคมีที่รุนแรง
* ใช้น้ำร้อนสำหรับซักผ้าขนหนูและผ้าปูที่นอน
การรักษา
•หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น เช่น ยาสเตียรอยด์* ยาสีฟันที่มีฟลูออไรต์*
•งดแต่งหน้า 2-3 สัปดาห์ ให้ผิวได้พักฟื้นครับ
•ใช้ครีมบำรุงเนื้อบางเบาสูตรอ่อนโยนที่สุด
•ใช้เครื่องสำอางให้น้อยที่สุด
•เลือกผลิตภัณฑ์ล้างหน้าเบาเบาสูตรอ่อนโยนเท่านั้น
•หลีกเลี่ยงการรักษาที่อาจทำให้เกิดระคายเคือง เช่น Retinoid, AHA, BHA, ผลัดเซลล์ผิว 6 สัปดาห์
•ครีมกันแดด ให้ใช้เนื้อบางเบาที่สุด
•งดสครับ ขัดผิว แกะ ทั้งหมด
การใช้ยา
•ยาปฏิชีวนะชนิดทาเช่น Metronidazole*, Erythromycin, Clindamycin
•ยาลดการอักเสบ pimecrolimus
•ยาปฏิชีวนะชนิดทาน เช่น Tetracycline*, Doxycycline
•ยา Isotretinoin กรณีไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีอื่น
การรักษาเสริม (การรักษาหลักคือการใช้ยาทาร่วมกับการหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นนะครับ)
•เลเซอร์ Low level laser therapy LLLT Healite ช่วยลดการอักเสบ รอยแดง
•PDL Pulsed Dye Laser เช่น Vbeam ช่วยลดรอยแดง และเส้นเลือดขยายจากสเตียรอยด์ครับ
•การวินิจฉัยบางครั้งอาจจะมีหลายโรคอยู่หนังร่วมกันและการรักษาต้องใช้เวลาแนะนำต้องปรึกษาแพทย์ก่อนรักษาทุกครั้งนะครับ
งานวิจัยเกี่ยวกับโรค POD โดย รศ. นพ. เทอดพงศ์ เต็มภาคย์ ครับ Tempark T, Shwayder TA. Perioral dermatitis: a review of the condition with special attention to treatment options. Am J Clin Dermatol. 2014 Apr;15(2):101-13.
https://link.springer.com/10.1007/s40257-014-0067-7
J Cosmet Dermatol. 2021 Dec;20(12):3839-3848.
Perioral (periorificial) dermatitis is a red rash that circles your mouth. Your skin can be scaly, dry and flaky with swollen, inflamed bumps called papules. It is one of many types of dermatitis. Perioral dermatitis can look like acne and is often mistaken for it.
First, you must stop using any products that might be causing your perioral dermatitis. Stop the following:
* Topical and inhaled steroids. This includes both over-the-counter and prescribed steroids. If your healthcare provider has prescribed a steroid, ask if you can switch to a different medication.
* Face creams, including moisturizers.
* Cosmetics (makeup).
* Sunscreen.
* Fluorinated toothpaste (toothpaste without fluoride can be found at health food stores).
* Chewing gum.
...
Cr:หมอรุจชวนคุย
...
https://bit.ly/3FL99WH
https://bit.ly/3PsJkiP
https://bit.ly/3wnwitZ
https://www.instagram.com/p/CddGdx_Lhf2/?igshid=YmMyMTA2M2Y=
https://www.blockdit.com/posts/627ce0aca37b4f145c5a74a8
https://youtu.be/R9UiMTQt42s
https://youtu.be/kpznGXChiz4
..
คลิก!! จองสิทธิ์!! เพื่อรับข้อเสนอพิเศษ
(จำนวนจำกัด)
...
ปรึกษาคุณหมอหรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Tel : 063-959-4392 / 063-896-2514
Line: http://line.me/ti/p/@Demedclinic
Line: @Demedclinic
Wechat/Whatsapp: Demedclinic
IG: https://www.instagram.com/drsuparuj
www.facebook.com/drsuparuj
Youtube: https://bit.ly/3p20YLE
Blockdit: https://bit.ly/3d8vYr1
https://vt.tiktok.com/ZSJ141Mdf/
https://mobile.twitter.com/drruj1
www.demedclinic.com / www.demedhaircenter.com