Last updated: 27 ต.ค. 2564 | 40795 จำนวนผู้เข้าชม |
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
ก้อนเนื้อไขมัน หรือ เนื้องอกไขมัน (Lipoma) คืออะไร ดูแลได้อย่างไร ?
เนื้องอกของเซลล์ไขมัน Lipoma มักพบอยู่ระหว่างผิวหนังและชั้นกล้ามเนื้อ เป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง -ลักษณะเป็นก้อนไขมันมีเปลือกหุ้ม สามารถเกิดขึ้นได้ที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ทั้งที่ศีรษะ ลำตัว และแขน ขา
เป็นเนื้องอกที่เกิดขึ้นเองไม่มีสาเหตุ ไม่เกี่ยวกับการกินอาหารไขมัน หรือ การสะสมของไขมัน บางรายอาจพบมีจำนวนมาก อาจเกิดขึ้นได้ทั้งตัว
-ตามปกติแพทย์จะทำการวินิจฉัยอาการของ Lipoma โดยการตรวจและคลำบริเวณที่เกิดตุ่มนูนเพื่อระบุชนิดของเนื้องอก รวมถึงการตรวจร่างกายตามปกติซึ่งสามารถวินิจฉัยได้ถึง 80 – 90%
ก้อนเนื้อไขมัน หรือ เนื้องอกไขมัน (Lipoma) คืออะไร
ก้อนเนื้อไขมันหรือ เนื้องอกไขมัน (Lipoma) คือเนื้องอกของเซลล์ไขมัน มักพบอยู่ระหว่างผิวหนังและชั้นกล้ามเนื้อ เป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง ไม่ใช่มะเร็ง ไม่แพร่กระจาย (Benign tumor) ลักษณะเป็นก้อนไขมันมีเปลือกหุ้ม สามารถเกิดขึ้นได้ที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ทั้งที่ศีรษะ ลำตัว และแขน ขา
ตามสถิติก้อนเนื้อไขมันชนิดนี้จะพบได้ 1 ใน 1,000 คน และเกิดได้ในทุกกลุ่มอายุ สามารถพบได้ตั้งแต่ทารกแรกเกิด อย่างไรก็ตามมักจะพบได้มากในช่วงอายุระหว่าง 40-60 ปี
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
ก้อนเนื้อไขมัน เป็นเนื้องอกที่เกิดขึ้นเองไม่มีสาเหตุ ไม่เกี่ยวกับการกินอาหารไขมัน หรือ การสะสมของไขมัน บางรายอาจพบมีจำนวนมาก อาจเกิดขึ้นได้ทั้งตัว ถ้ามีหลาย ๆ ก้อนหลายตำแหน่งจะเรียกว่า Lipomatosis ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์
เนื้องอกไขมัน อาการ
Lipoma มักมีขนาดเล็ก โดยปกติจะมีขนาดไม่เกิน 2 นิ้ว แต่ในคนไข้บางราย Lipoma ก็มีโอกาสที่จะเกิดก้อนเนื้อขนาดใหญ่ได้ โดยอาจจะมีความยาวเกือบ 8 นิ้ว
เบื้องต้นมักพบในชั้นไขมันใต้ผิวหนัง มีก้อนกลมนูนใต้ผิวหนัง ค่อนข้างนุ่ม ไม่มีอาการเจ็บ อาจจะค่อยโตขึ้นช้า ๆ ใช้ระยะเวลาหลายปี โดยที่ผู้ป่วยไม่ทันสังเกต โดยเฉพาะที่บริเวณแผ่นหลัง ซึ่งกว่าผู้ป่วยจะเห็นหรือคลำเจอ ก้อนไขมันนี้อาจมีขนาดใหญ่ได้
สัญญาณที่ควรมาพบแพทย์
เกิดก้อนเนื้อ บริเวณ คอ รักแร้ เต้านม เพราะอาจเป็นเนื้องอกชนิดอื่น ไม่ใช่ก้อนเนื้องอกไขมันใต้ผิวหนัง อาจเป็นก้อนเนื้องอกของ เต้านม, ต่อมไทรอยด์ หรือต่อมน้ำเหลือง
- ก้อนเนื้อที่โตเร็ว มีขนาดใหญ่
- มีลักษณะแข็ง หรือมีอาการเจ็บร่วมด้วย
- ก้อนเนื้อมีลักษณะกลายเป็นสีแดง
การวินิจฉัย
ตามปกติแพทย์จะทำการวินิจฉัยอาการของ Lipomaโดยการตรวจและคลำบริเวณที่เกิดตุ่มนูนเพื่อระบุชนิดของเนื้องอก รวมถึงการตรวจร่างกายตามปกติซึ่งสามารถวินิจฉัยได้ถึง 80 – 90% ในบางครั้งอาจใช้การตรวจอัลตราซาวด์เพื่อช่วยแยกว่าเป็นก้อนไขมันหรือก้อนซีสต์ แต่การวินิจฉัยที่แน่นอนที่สุดคือการ เอาก้อนเนื้อออกมาตรวจทางพยาธิวิทยา
การรักษาเนื้องอกไขมัน
รักษาโดยการผ่าตัดเอาก้อนเนื้อออก ซึ่งแพทย์จะพิจารณาใช้ในกรณีดังต่อไปนี้
-เพื่อความสวยงามแนะนำในกรณีที่ก้อนใหญ่นูน และเกิดขึ้นในบริเวณที่เห็นได้ชัดเจน
-มีการเจ็บถ้าก้อนอยู่ในบริเวณที่มีการกดทับ
-เกิดก้อนขนาดใหญ่โตเร็ว แข็ง หรือ ไม่แน่ใจว่าเป็นก้อนเนื้อชนิดใด เพื่อการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยา (For diagnosis)
การรักษาเนื้องอกไขมัน
Lipoma เป็นโรคที่ไม่อันตรายและไม่จำเป็นต้องรักษาเสมอไป แต่หากมีอาการเจ็บปวดหรือเนื้องอกมีขนาดใหญ่ขึ้น แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาเพื่อกำจัดเนื้องอก โดยวิธีที่อาจนำมาใช้ ได้แก่
1.การผ่าตัด เป็นวิธีที่นิยมใช้ เพราะกำจัดเนื้องอกออกได้หมดและมักไม่กลับมาเป็นซ้ำ แต่อาจทำให้เกิดแผลเป็นหรือรอยฟกช้ำภายหลัง ซึ่งใน***ปัจจุบันมีการผ่าตัดชนิดแผลเล็กที่ช่วยลดผลข้างเคียงนี้ได้**
2. การผ่าตัดด้วยเลเซอร์ หมอมีคลิปการด
ดูแลก้อนเนื้อไขมัน Lipoma ด้วยเลเซอร์ CO2 Laser Lipoma Treatment โดยมีขัอดีคือแผลที่เกิดจะมีขนาดเล็ก
3.การดูดไขมัน แพทย์จะใช้เข็มฉีดยาเจาะลงไปบริเวณตุ่มไขมัน จากนั้นจึงค่อย ๆ ดูดไขมันออกมา วิธีนี้ช่วยให้เนื้องอกไขมันยุบลงแต่อาจกลับมาเป็นซ้ำได้
4.การฉีดสารสเตียรอยด์ ในกรณีที่ไม่ต้องผ่าตัด แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยฉีดสารสเตียรอยด์เพื่่อช่วยให้เนื้องอกมีขนาดเล็กลง ทว่าการใช้สเตียรอยด์อาจส่งผลข้างเคียงได้ จึงควรปรึกษาแพทย์ถึงข้อดีข้อเสียและความเสี่ยงก่อนรักษาด้วยวิธีนี้
วิธีการผ่าตัด
วิธีที่แพทย์มักจะผ่าตัดเอาก้อนไขมันออกได้ คือการกรีดผิวหนังออกเล็กน้อยแล้วนำก้อนไขมันออกมา โดยผู้ป่วยจะได้รับการฉีดยาชาเฉพาะที่ ในระหว่างขั้นตอนการผ่าตัด และหลังทำหัตถการหรือผ่าตัด ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านทันทีภายในวันที่ทำหัตถการ ในกรณีก้อนไขมันมีขนาดใหญ่ อาจทำการผ่าตัดในห้องผ่าตัด อยู่ที่การพิจารณาของแพทย์
การปฎิบัติตัวหลังผ่าตัดเนื้องอกไขมัน
ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว ถ้าหากแผลมีเลือดออกหรือแผลเปียก หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดนน้ำและปิดพลาสเตอร์ที่สามารถกันน้ำได้ สามารถรับประทานยาแก้ปวดร่วมด้วยถ้าหากผู้ป่วยมีอาการปวดบริเวณแผลหลังผ่าตัด เพื่อป้องกันไม่ให้แผลเกิดอาการบวม ผู้ป่วยควรที่จะยกบริเวณที่ผ่าตัดให้อยู่เหนือระดับของหัวใจ และถ้าหากไม่สามารถยกได้ก็ระมัดระวังเรื่องการเคลื่อนไหวโดยผู้ป่วยควรขยับให้น้อยที่สุดในบริเวณที่ทำหัตถการหรือผ่าตัด
โอกาสในการกลับมาเป็นซ้ำ
การผ่าตัดเอาก้อนเนื้อ Lipoma ออกทั้งก้อน รวมถึงบริเวณเปลือกหุ้มออกจะทำให้ไม่เกิดซ้ำอีก
Cr: หมอรุจชวนคุย
https://www.blockdit.com/posts/616070d6e0295a1071d3212f
https://youtu.be/WKZKjyI7nxY
https://youtu.be/Y_f468pyA0A
คลิก!! จองสิทธิ์!! เพื่อรับข้อเสนอพิเศษ
(จำนวนจำกัด)
ปรึกษา สอบถามเพิ่มเติม Contact :
Tel: 063-959-4392 / 063-896-2514
Line: http://line.me/ti/p/@Demedclinic
Line: @Demedclinic
Wechat/Whatsapp: Demedclinic
IG: https://www.instagram.com/demedclinic
Youtube: goo.gl/as2rYL
www.demedclinic.com , www.demedhaircenter.com
https://vt.tiktok.com/ZSeJ9kd9b/
https://pin.it/4sY204J