แนะนำเทคนิค (เวชสำอาง) ดูแลแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ Burn Wounds

Last updated: 26 ต.ค. 2565  |  2162 จำนวนผู้เข้าชม  | 

แนะนำเทคนิค (เวชสำอาง) ดูแลแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ Burn Wounds

 

 ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล

 ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล


แนะนำเทคนิค (เวชสำอาง) ดูแลแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ Burn Wounds

https://youtu.be/HQ9Rq_Vt8FA 
(แนะนำพบแพทย์ก่อน เพื่อทำความสะอาดและประเมินความรุนแรงและให้การรักษาเบื้องต้นก่อนนะครับ)

ตัวอย่างเวชสำอางที่แนะนำ
•Eucerin Aquaphor Healing Ointment
•Aloe Vera Gel
•Silver Sulfadiazine Cream (ซิลเวอร์ ซัลฟาไดอะซีน) เป็นตัวยา ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ครับ
•Mebo Cream

แนะนำเทคนิค (เวชสำอาง) ดูแลแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ Burn Wounds

แนะนำเทคนิค (เวชสำอาง) ดูแลแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ Burn Wounds

แนะนำเทคนิค (เวชสำอาง) ดูแลแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ Burn Wounds

แนะนำเทคนิค (เวชสำอาง) ดูแลแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ Burn Wounds



บาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก Burn wound คือการบาดเจ็บบริเวณผิวหนัง ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากความร้อน ทั้งความร้อนแห้งคือเปลวไฟ วัสดุร้อน เช่น เตารีด เป็นต้น หรือความร้อนเปียก เช่น น้ำร้อน กาแฟร้อน เป็นต้น สาเหตุอื่นที่ทำให้บาดเจ็บบริเวณผิวหนังได้อีก เช่น สารเคมี กระแสไฟฟ้า และกัมมันตรังสี เป็นต้น ซึ่งมักเรียกรวม ๆ ว่า บาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก
•บาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกเป็นเรื่องน่าสนใจ เพราะเป็นบาดแผลที่พบได้บ่อย บาดแผลมีความเจ็บปวดมาก หากบาดแผลลึกและกว้างการรักษาจะใช้เวลานาน ค่าใช้จ่ายสูง และอาจทำให้สูญเสียภาพลักษณ์ที่ดีจากรอยแผลเป็นตลอดจนเกิดการพิการได้ หากบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกเป็นบริเวณกว้าง จำเป็นต้องพักรักษาในโรงพยาบาล เพราะมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูง

การดูแลเบื้องต้น
เมื่อได้รับบาดเจ็บ ในเบื้องต้นควรล้างทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่า หรือหากบาดแผลสกปรกมาก อาจใช้สบู่อ่อนชะล้างสิ่งสกปรกออกไปก่อน จากนั้นล้างด้วยน้ำเปล่ามาก ๆ หากทำได้ให้ใช้น้ำอุณหภูมิห้องไหลผ่านแผลหรือแช่แผลในน้ำอุณหภูมิห้องอย่างน้อย 5 นาที แต่ไม่ควรเกิน 20 นาที ห้ามใช้น้ำแข็งหรือน้ำเย็นจัด เพราะอาจทำให้บาดแผลลึกมากขึ้นได้ จากนั้นใช้ผ้าสะอาดปิดแผลและไปพบแพทย์
***ไม่ควรใช้ยาสีฟันหรือครีมอื่นใดชะโลมบนแผล เพราะอาจทำให้แผลมีโอกาสติดเชื้อมากขึ้น***
•แพทย์จะทำความสะอาดแผลอีกครั้งจนแผลสะอาดแล้วประเมินทั้งความลึกและความกว้างของแผล หากมีเนื้อตายก็จะตัดเนื้อตายออก
•แล้วทำการปิดแผล อาจใช้ครีม (Cream) หรือขี้ผึ้ง (Ointment) ทาแผล หรือใช้วัสดุปิดแผลที่ทันสมัยอื่น ๆ ปิดแผล
•ถ้าเป็นแผลใหญ่หรือแผลบริเวณอวัยวะสำคัญ เช่น ใบหน้า มือ และฝีเย็บ ผู้ป่วยอาจต้องพักรักษาภายในโรงพยาบาล

•ปัจจุบันการดูแลรักษาบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก (Burn) มีความก้าวหน้าไปมาก มีวัสดุปิดแผลใหม่ ๆ ที่มีคุณภาพดีหลายชนิด การเลือกใช้วัสดุปิดแผลอย่างถูกต้องและการดูแลอย่างใกล้ชิดของแพทย์ ทำให้ผู้ป่วยลดความทุกข์ทรมานจากบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก บาดแผลหายเร็วขึ้นและแผลเป็นก็ลดลง ดังนั้นหากมีบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกควรได้รับการรักษาที่ถูกต้องจากแพทย์โดยเร็ว

Cr:หมอรุจชวนคุย


https://bit.ly/3W3BeA6 
https://bit.ly/3DbfdHj 
https://youtu.be/xRXOmsHiv0s 
https://youtu.be/HQ9Rq_Vt8FA

...

คลิก!! จองสิทธิ์!! เพื่อรับข้อเสนอพิเศษ
(จำนวนจำกัด)

http://line.me/ti/p/@Demedclinic


...
ปรึกษาคุณหมอหรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Tel : 063-959-4392 / 063-896-2514
Line: http://line.me/ti/p/@Demedclinic
Line: @Demedclinic
Wechat/Whatsapp: Demedclinic
IG: https://www.instagram.com/drsuparuj 
www.facebook.com/drsuparuj 
Youtube: https://bit.ly/3p20YLE 
Blockdit: https://bit.ly/3d8vYr1 
https://vt.tiktok.com/ZSJ141Mdf/ 
https://mobile.twitter.com/drruj1 
www.demedclinic.com  / www.demedhaircenter.com 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้